รู้เรื่อง…ประโยชน์และโทษของทุเรียน

มีหลายต่อหลายคนทันทีที่เห็นทุเรียนหรือแม้แต่ได้กลิ่นก็เกิดน้ำลายสอ อยากจะรับประทานให้ได้ เป็นเพราะกลิ่นที่เย้ายวนและรสชาติที่หวานมัน มันทำให้ห้ามใจยากจริงๆ
แต่ก่อนที่จะรับประทานทุเรียนพูใหญ่ๆ อยากจะให้คุณๆ รับรู้ถึงประโยชน์และโทษของทุเรียนกันก่อน เพื่อจะได้รับประทานด้วยความสบายใจประโยชน์ของทุเรียนมีหลายอย่าง ได้แก่
– ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง สามารถช่วยลดระดับไขมันในเส้นเลือดหรือคอเลสเตอรอลได้ เพราะว่า ทุเรียนสายพันธุ์นี้
มีสารโพลีฟีนอลและมีเส้นใยที่ช่วยลดไขมันได้ แต่มีข้อจำกัดคือ จะต้องรับประทานแค่เพียง 1 พูต่อวันเท่านั้น
– ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ช่วยป้องกันโรคหัวใจและโรคมะเร็งได้ เนื่องจากในทุเรียนมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ แต่
จะต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม
– ถึงแม้ทุเรียนจะมีไขมันมาก แต่ก็เป็นไขมันชนิดดี หรือ HDL ที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย
– เส้นใยของทุเรียนสามารถช่วยระบบขับถ่าย ทำให้ขับถ่ายได้สะดวกขึ้น
– ทุเรียนเป็นผลไม้ที่สามารถนำไปแปรรูปได้หลายแบบ เช่น ลูกกวาด ขนมไหว้พระจันทร์ ขนมปังสอดไส้ ไอศกรีม
มิลก์เชก เค้ก ข้าวเหนียวทุเรียน ทุเรียนกวน ทุเรียนกรอบ เป็นต้น
– เมล็ดของทุเรียนสามารถรับประทานได้ โดยการทำให้สุกด้วยวิธีการคั่ว การทอดในน้ำมันมะพร้าวหรือการนึ่ง ซึ่ง
เนื้อในจะมีลักษณะคล้ายกับเผือกหรือมันเทศ แต่จะเหนียวกว่า
– ใบอ่อนหรือหน่อของทุเรียน สามารถใช้ทำอาหารบางอย่างได้
– เปลือกของทุเรียน สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการรมควันปลา
– เปลือกของทุเรียน สามารถนำไปผลิตทำเป็นกระดาษได้ ซึ่งจะให้เส้นใยที่เหนียวนุ่มและเหนียวกว่าเนื้อกระดาษ
สา
– ดอกของทุเรียน สามารถนำไปรับประทานได้ เช่นที่ในประเทศอินโดนีเซียจะรับประทานดอกของทุเรียนกัน
– ด้านความเชื่อ การปลูกต้นทุเรียนไว้ในบริเวณบ้านทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อว่า ผู้อาศัยจะเป็นผู้มีความรู้
แก่วิชาการเรียน หรือเป็นผู้รู้มาก เพราะคำว่า ทุเรียนนั้นมีเสียงพ้องเกี่ยวกับการเรียนนั่นเอง
นอกจากนี้ ทุเรียนยังมีสรรพคุณด้านสมุนไพรด้วย เป็นต้นว่า เนื้อทุเรียนช่วยทำให้ฝีแห้ง เนื้อทุเรียนช่วยแก้โรคผิวหนัง สารสกัดจากใบและรากของทุเกรียนใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ โดยการใช้น้ำจากใบวางบนศีรษะของผู้ป่วยไข้จะลดได้ รากทุเรียนมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องร่วง ใบและเนื้อทุเรียนช่วยขับพยาธิ ใบทุเรียนมีสรรพคุณทางยาช่วยเรื่องดีซ่าน ใบทุเรียนช่วยทำให้หนองแห้ง เปลือกทุเรียนช่วยแก้ตานซาง เปลือกทุเรียนใช้รักษากลากเกลื้อน เปลือกทุเรียนช่วยรักษาโรคคางทูม เปลือกทุเรียนช่วยแก้เรื่องน้ำเหลืองเสีย เปลือกทุเรียนช่วยแก้ฝี เปลือกทุเรียนใช้รักษาแผลพุพอง เปลือกทุเรียนใช้เรื่องการสมานแผล เปลือกทุเรียนใช้ไล่ยุงและแมลง เนื้อทุเรียนใช้แก้จุกเสียดในท้อง เนื้อทุเรียนให้ความร้อนแก่ร่างกาย เนื้อทุเรียนใช้บำรุงกำลัง เนื้อทุเรียนใช้แก้โรคผิวหนังและทำให้ฝีแห้ง เนื้อทุเรียนช่วยฆ่าเชื้อโรคในร่างกายได้ เพราะกำมะถันในเนื้อทุเรียนทำหน้าที่เสมือนเป็นยาฆ่าเชื้ออ่อนๆ
ทุเรียนแม้จะมากมายหลากประโยชน์ แต่ทุเรียนก็มีโทษที่พึงควรระวังเช่นกัน
ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระดับน้ำตาลในเลือดหรือผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรจะหลีกเลี่ยงหรือรับประทานเพียงเล็กน้อย เนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีรสหวานจนถึงหวานจัด จะทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่หรืออาจจะสูงเกินไป ซึ่งจะให้ผลเสียต่อร่างกาย
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ไม่ควรจะรับประทานทุเรียนในปริมาณมาก เพราะว่า ทุเรียนเป็นผลไม้ธาตุร้อน จะทำให้ความดันพุ่งสูงขึ้นและเกิดอันตรายต่อร่างกายได้
ผู้ป่วยโรคไตและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานทุเรียน เนื่องจากทุเรียนมีแร่ธาตุโพแทสเซียมสูง ซึ่งเป็นปัญหาต่อผู้ป่วยโรคไต ร่างกายขับโพแทสเซียมได้ไม่ดี หากรับประทานทุเรียนจะนิ่งทำให้โรคเกิดความรุนแรงหรือร่างกายทรุดลงได้ สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ การรับประทานทุเรียนอาจจะส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
ผู้ป่วยโรคเกาต์ ไม่ควรรับประทานทุเรียนที่สุกงอมหรือหวานจัดจนเกินไป เพราะจะส่งผลต่อความดันเลือด
ผู้ป่วยโรคหอบหืด ไม่ควรจะรับประทานทุเรียนมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการแน่น จุก หายใจติดขัดได้
ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน ไม่ควรจะรับประทานทุเรียนมากเกินไปเช่นกัน เพราะจะทำให้เกิดอาการแน่นท้อง
ข้อพึงรู้เมื่อจะรับประทานทุเรียน คือ
– ควรรับประทานทุเรียนคู่กับมังคุด เพราะมังคุดมีกากใยอาหารสูงและมีน้ำมากจึงสามารถแก้อาการร้อนในได้
– ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวดังกล่าว หากจะรับประทานทุเรียนไม่ควรจะเกิน 1 เม็ดเล็กต่อวัน และต้องปฏิบัติตาม
คำแนะนำของแพทย์ ทั้งนี้ไม่ควรจะรับประทานทุเรียนแปรรูปอื่นๆ ด้วย
– เมื่อรับประทานทุเรียนแล้ว ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัดหรือมันจัด เพื่อร่างกายจะได้รับปริมาณน้ำตาลไม่
มากเกินไป มิฉะนั้นอาจจะทำให้แน่นและจุกเสียดได้
– หากมีอาการร้อนในหรือเจ็บคอ ให้ดื่มน้ำตามมากๆ หรือดื่มน้ำผสมเกลือแกงครึ่งช้อนชา เพื่อเป็นการขับสาร
ซัลเฟอร์ แล้วอาการร้อนในจะดีขึ้น
– ไม่ควรจะรับประทานทุเรียนพร้อมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล เพราะทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีสารกำมะถันค่อนข้างสูง
เมื่อรับประทานคู่กันจะทำให้เอนไซม์บางชนิดลดลง ซึ่งเอนไซม์ชนิดนี้จะเปลี่ยนสารพิษชื่อ แอลดีไฮด์ (Aldehyde) เป็นสารชนิดอื่นที่ไม่ใช่พลังงาน แล้วยังกำจัดออกจากร่างกายได้น้อย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการชา วิงเวียนศีรษะ หน้าแดง อาเจียน อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ไม่สบายตัวและอาจเป็นอันตรายได้ ถ้ามีอาการขาดน้ำหรือหมดสติ
– ไม่ควรจะรับประทานทุเรียนกับเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชาหรือกาแฟ เพราะจะทำให้ปวดศีรษะได้
‘ทุเรียน’ ของอร่อยมีแต่คนชอบ หากจะรับประทานก็ขอให้แต่พอดี…อย่าตามใจปาก…จะลำบากทีหลังนะจ๊ะ